หูตึง,หูหนวก,แก้ปัญหาหูตึง,แก้ปัญหาหูหนวก,เครื่องมือช่วยฟัง
พัฒนาการของอุปกรณ์ช่วยฟัง
พัฒนาการของอุปกรณ์ช่วยฟัง

พัฒนาการของอุปกรณ์ช่วยฟัง

เครื่องช่วยฟัง

สมัยก่อนนั้นการใช้เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินนั้นเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยาก เพราะการตลาดที่ยังไม่กว้างขวางการแข่งขันน้อยทำให้ราคาสูงต่างกับในปัจจุบันที่ถูกลงกว่าเมื่อก่อนโดยเริ่มตั้งแต่ประมาน 500 บาทขึ้นไปจนถึงหลักหมื่น พร้อมกับพัฒนารู้แบบให้เล็กกะทัดรัดแลดูสวยงามมากขึ้นรวมถึงรูปแบบของการให้พลังงานจากเดิมที่ใช้ถ่านได้เพิ่มเป็นมีชาร์จแบตเตอรี่ในตัว เป็นอย่างไรไปดูกัน

Ear-Gen

โดยเครื่องรุ่นแรกจะมีลักษณะเป็นกล่องพร้อมกับช่องหูฟังขนาด 3.5 มม. สามารถใช้งานได้ทันทีเพียงใส่ถ่าน ข้อดีคือเมื่อถ่านหมดแล้วต้องทำการเปลี่ยนถ่านหากไม่มีจะไม่สามารถใช้งานได้หรือต้องมีถ่านสำรองนั้นเอง ข้อเสียคือน้ำหนักเยอะพกพาไม่สะดวกเท่าที่ควร การทำกิจกรรมต่างๆ อาจทำให้เกิดการผิดพลาดเครื่องหล่นเสียหายได้และสำหรับบางรุ่นถ่านใช้เปลี่ยนอาจจะหาได้ยากเป็นจุดสังเกตได้ง่ายเพราะอุปกรณ์มีขนาดใหญ่

Ear unbox-horz

สำหรับรุ่นใหม่นั้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีขนาดเล็กลงเป็นอย่างมากอีกทั้งรูปทรงที่เข้ากับยุคสมัยได้ดี มีทั้งลักษณะแบบคล้องติดกับหูและแบบ in ear ทำให้ใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น พลังงานยังคงมีทั้งจากแบบถ่านและแบบแบตเตอร์รี่ในตัวให้ได้เลือกใช้งาน ข้อดีคือน้ำหนักเบาพกพาได้สะดวกใช้งานได้โดยไม่เป็นจุดสังเกต ข้อเสียคือชาร์จแบตเตอรี่ในแต่ละครั้งต้องใช้เวลาพอสมควรและระยะเวลาการใช้งานอย่างน้อย 8 ชม.ต่อการชาร์จแบตเตอรี่หนึ่งครั้ง หากต้องออกนอกบ้านนานจะเป็นอุปสรรค์ต่อการใช้งาน

ลักษณะของระบบเสียงที่ต่างกัน

รูปแบบของเสียงที่ได้ในแต่ละอุปกรณ์ช่วยฟังเองมีส่วนในการตัดสินใจที่เลือกซื้อ โดยเสียงที่ได้จะมี 2 ลักษณะด้วยกันคือแบบ Analog และ Digital เสียงที่ได้จะมีความไกลเคียงกันแต่สิ่งที่ต่างกันคือเสียง Analog จะมีปัญหาในด้านของเสียงรบกวนคือเสียงซ่าๆ ส่วน Digital ไม่มีเสียงรบกวนเสียเท่าไหร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการรวมถึงงบประมานของผู้ใช้งานเองและแบบไหนสะดวกกว่าในการดำรงชีวิต