หูตึง,หูหนวก,แก้ปัญหาหูตึง,แก้ปัญหาหูหนวก,เครื่องมือช่วยฟัง
เครื่องช่วยฟังมีกี่ประเภท
เครื่องช่วยฟังมีกี่ประเภท

เครื่องช่วยฟังมีกี่ประเภท

บนโลกของเรามีเครื่องช่วยฟังอยู่หลากชนิด แต่ละชนิดก็เหมาะกับบุคคลแตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่าสองคนจะใส่เครื่องช่วยฟังอันเดียวกันแล้วจะได้ประสิทธิภาพเท่ากัน ดังนั้นการเลือกซื้อควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านก่อน แต่สำหรับเวลานี้เราจะพามารู้จักกันคร่าว ๆ ของเครื่องช่วยฟังแต่ละชนิดว่ามีอะไรกันบ้างวางขายตามท้องตลาด ตามไปดูพร้อมกับเรากันได้เลย

Invisible-In-The-Canal

1.Invisible-In-The-Canal

ตามชื่อของมันเลย หูฟังที่มองไม่เห็น ด้วยขนาดเล็กสามารถสอดเข้าไปในช่องหูได้พอดีตามการออกแบบของใบหูของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถูกออกแบบมาให้สวมใส่ง่าย เหมาะกับการใส่และถอดในเวลากลางคืน เพื่อให้มีสุขภาพหูที่ดีขึ้นแต่แลกมาด้วยราคาที่แพงขึ้น

Completely-In-Canal

2.Completely-In-Canal

เจ้า CIC ชนิดนี้จะสอดเข้าช่องหูโดยตรง มีเพียงด้ามจับพลาสติกเล็ก ๆ เอาไว้ช่วยดึงเครื่องออกมา ตัวเครื่องต้องสั่งทำตามแบบ สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินอ่อน ๆ จนถึงปานกลาง

In-The-Canal

3.In-The-Canal

ITC เป็นเครื่องช่วยฟังที่ถูกออกแบบมาเพื่อคล้องกับช่องหู ขนาดใหญ่ขึ้นมาจาก In-Canal เหมาะสำหรับกับผู้สูญเสียการได้ยินเล็กน้อย

In-The-Ear

4.In-The-Ear

ITE เจ้าตัวนี้เป็นรุ่นพี่ของวงการขนาดใหญ่ ต้องสั่งทำให้พอดีกับใบหู พอใส่แล้วจะมีขนาดเต็มใบหูของผู้ใส่พอดี เป็นตัวมาตฐานทั่วไปที่ใช้กันสากลทั่วโลก หากคุณเดินเข้าร้านเพื่อหาซื้อเครื่องซักตัว พวกเขาจะแนะนำตัวนี้เป็นตัวแรกสำหรับคุณ เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินปานกลาง จนถึงสูง

Receiver-In-Canal

5.Receiver-In-Canal

RIC เครื่องช่วยฟังขนาดใหญ่ใส่แล้วดูแทบมองไม่ออก เพราะตัวเครื่องซ่อนอยู่หลังใบหู

และส่งสัญญาณผ่านสายไปยังตัวลำโพงขนาดเล็กเสียบเข้าช่องหูอีกทีหนึ่ง เป็นเครื่องไม่กี่ชนิดที่มอบความสบายเมื่อสวมใส่แก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินปานกลาง

Behind-The-Ear

6.Behind-The-Ear

BTE ชนิดเดียวกันกับ RIC แต่มีความสะดวกในการปรับแต่งได้มากกว่าอย่างการเปลี่ยนปลอกของหูฟังเป็นแบบที่ต้องการและมีกำลังรับส่งสูงกว่า ตัวเครื่องสามารถหาซื้อได้ทั่วไป สะดวกและสวมใส่สบาย เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินปานกลางจนถึงสูง

ทั้งหมดนี้เป็นชนิดของเครื่องช่วยฟังที่มีขายทั่วไป การเลือกซื้อยังคงต้องใช้ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้เลือกซื้อหูฟังที่เหมาะกับหูของเราและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางด้านหูของโรงพยาบาลหรือคลินิก เพื่อขอคำปรึกษาโดยที่เราจะได้ไม่ต้องสูญเสียเงินไปกับเครื่องช่วยฟังที่ไม่เหมาะกับเรา