หูตึง,หูหนวก,แก้ปัญหาหูตึง,แก้ปัญหาหูหนวก,เครื่องมือช่วยฟัง
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพัฒนาระบบแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุและผู้บกพร่องทางการได้ยิน
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพัฒนาระบบแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุและผู้บกพร่องทางการได้ยิน

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพัฒนาระบบแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุและผู้บกพร่องทางการได้ยิน

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกันกับ กสทช. และบริษัททีโอที เพื่อพัฒนาระบบช่วยเหลือผู้สูงอายุแบบใหม่ ช่วยแจ้งเหตุฉุกเฉินต่างๆ ไม่ว่าจะหกล้ม ปวดท้อง ไม่สบาย หรือต้องการความช่วยเหลืออื่นๆ โดยจะนำไปทดสอบครั้งแรกใน 19 จังหวัด มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มโอกาสที่ความช่วยเหลือจะเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วขึ้น ในประเทศไทยมีคนพิการมาลงทะเบียนกับรัฐแล้วประมาณ 1.4 ล้านคน โดยในจำนวนนี้มีเป็นผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน 2 แสนราย ซึ่งการนำระบบมาใช้จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก โดยจังหวัดที่ได้นำระบบไปทดสอบใช้งานได้แก่จังหวัด ชลบุรี, ระยอง, ขอนแก่น ,หนองบัวลำภู, อุดรธานี, กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี, พิษณุโลก, อุบลราชธานี, สมุทธปราการ, นนทบุรี, สุราษฎร์ธานี, สมุทรสาคร, เชียงราย, ภูเก็ต, เชียงใหม่, นครพนม, กรุงเทพมหานคร และสงขลาEmergency-Medicine

ด้วยความร่วมมือจากบริษัททีโอที ในด้านบริการ TOT Help Call Center เป็นระบบสื่อสารพื้นฐานที่จำเป็นในการทำงานของระบบ ซึ่งจะมีการเก็บประวัติข้อมูลผู้สูงอายุ ตำแหน่ง และประวัติการรักษา พร้อมกับเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับสายด่วน 1669 ของแต่ละจังหวัด ในระหว่างการทดสอบจะสามารถใช้บริการนี้ได้ฟรี ซึ่งในอนาคตเมื่อเปิดใช้งานเต็มรูปแบบทั่วประเทศจะต้องเสียค่าบริการรายเดือนประมาณ 30 บาท โดยหลังจากได้เริ่มโครงการนี้ผู้ป่วย และผู้สูงอายุจะมีโอกาสได้รับการช่วยเหลือจากทั้งภาครัฐและเอกชนได้อย่างเต็มที่

จำนวนตัวเลขในกรุงเทพมหานครมีผู้พิการทั้งสิ้น 52,623 คน แบ่งเป็นชาย 29,579 คน และเพศหญิง 23,044 คน, ภาคกลางและภาคตะวันออก 283,839 คน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 529,878 คน, ภาคใต้ 152,974 คน, ภาคเหนือ 316,550 คน และอื่นๆ ไม่ระบุอีก 32,269 คน เป็นข้อมูลตัวเลขสถิติข้อมูลคนพิการที่มีบัตรประจำตัวในปี 2556 โดยรวมแล้วมีผู้พิการทั้งสิน 1,374,133 คน ซึ่งเป็นตัวแรกที่สูงมาก ซึ่งปัจจุบันนี้ยังขาดการดูแลที่ถูกต้องตามมาตฐาน จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมโครงการนี้จำเป็นจะต้องเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ของผู้พิการโดยตรง

ประโยชน์ของระบบนี้เมื่อผู้ป่วยได้ถูกรับตัวไปนำส่งโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่สามารถได้รับข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่จำเป็นทุกอย่าง เพื่อทำการรักษาตามประวัติ เนื่องจากในปัจจุบันนี้เรายังคงต้องเสียเวลาไปตรวจสอบประวัติผู้ป่วย และอาจมีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะแพ้ยารักษาโรคต่างๆ แม้ว่าจะเร็วขึ้นเพียงแค่ไม่กี่นาทีกอาจเป็นนาทีของความเป็นและความตายได้เช่นกัน  โดยตัวแอพพลิเคชัน TTRS Video สามารถดาว์โหลดลงบนมือถือระบบ Android และ iOs ผู้ป่วยที่หูหนวกสามารถใช้ภาษามือประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือได้ ตัวแอพพลิเคชันสามารถเข้าไปโหลดได้ที่เว็บไซต์ www.ttrs.in.th พร้อมกับคู่มือการใช้งานภาษาไทยที่บอกไว้อย่างละเอียด