หูตึง,หูหนวก,แก้ปัญหาหูตึง,แก้ปัญหาหูหนวก,เครื่องมือช่วยฟัง
ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนา
ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนา

ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนา

ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็กเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ อาจเป็นตั้งแต่เกิด หรือเพิ่งเป็นหลังจากเกิดซึ่งส่งผลในแบบเดียวกัน การสูญเสียการได้ยินอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมของผู้เป็นพ่อแม่ แต่ก็อาจเกิดจากสิ่งอื่นๆ  ร่วมด้วย เช่นการติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์การคลอดก่อนกำหนด อาการบาดเจ็บที่เกิดและภาวะสุขภาพอื่นๆ  ส่วนปัญหาที่ส่งผลต่อเด็กหลังจากเกิด อาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อที่ใบหู การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียเช่นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือโรคหัด การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือการได้ยินเสียงที่ดังมากๆ  จนทำให้ระบบการได้ยินเสียหายถาวร

การตรวจเบื้องต้นว่าเด็กมีปัญหาในการได้ยินไหมสามารถทำได้ด้วยกระบวนการทางการแพทย์ที่เรียกว่าการทดสอบ ABR หรือ BAER โดยกระบวนการนี้จะให้ผลทดสอบที่เที่ยงตรงมากถึง 80 – 90% แต่การทดสอบนี้ก็ไม่ได้เพอร์เฟ็คเสมอไป พ่อแม่ยังคงจำเป็นต้องคอยสอดส่องดูพฤติกรรมการของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เช่นทักษะในการได้ยิน ภาษา และการพูด ถึงแม้ว่าเด็กจะได้รับการทดสอบความบกพร่องทางการได้ยินจาก ABR หรือ BAER ในโรงพยาบาลมาแล้วก็ตาม แม้ว่าเด็กโตขึ้นก็ยังจำเป็นต้องเข้ารับการทดสอบตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะมีโอกาสที่เด็กสามารถสูญเสียการได้ยินจากสาเหตุอื่นๆ  ที่เราคิดไม่ถึง ตามช่วงอายุดังนี้

  1. เมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน
  2. อย่างน้อย 1 ครั้งหลังอายุ 6 8 และ 10 ขวบ
  3. อย่างน้อย 1 ครั้งหลังเข้าเรียน ม.ต้น
  4. อย่างน้อย 1 ครั้งหลังเรียน ม.ปลาย
  5. หลังเข้ามหาลัย 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย

Hearing-

วิธีสังเกตุเด็กที่เริ่มมีอาการบกพร่องทางการได้ยิน

  1. มีพัฒนาการที่ช้ากว่าเพื่อน โดยเฉพาะในด้านภาษาเมื่อเทียบกับเพื่อนๆ ที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน การพูดภาษาแปลกๆ  ที่บ้าน หรือโรงเรียน
  2. มีความลำบากในการทำสมาธิให้จดจ่ออยู่กับสิ่งต่างๆ
  3. มีผลการเรียนที่ตกต่ำ
  4. มีการทวนคำว่า “อะไรนะ” หรือ “ฮะ” บ่อยครั้งหลังเมื่อสนทนาด้วย
  5. พยายามจดจ่ออยู่บนใบหน้าผู้พูดระหว่างพูดคุยกัน
  6. ไม่สามารถแยกเสียงพูดจากเสียงบรรยากาศรอบตัวได้
  7. นั่งอยู่หน้าทีวีในขณะที่เสียงดังอยู่แล้ว
  8. ไม่ค่อยได้ยินเสียงโทรศัพท์ หรือรับโทรศัพท์ไม่ค่อยทัน

การป้องกันอาจจะดูวุ่นวายและยุ่งยาก แต่เมื่อสูญเสียไปแล้วอาจจะไม่ได้รับการรักษาให้หายได้อีกเลย ดังนั้นการป้องกันไว้จึงดีกว่าแก้ แม้ว่าเราจะอายุมากขึ้นทุกวัน แต่ความเสี่ยงก็ไม่เคยลดน้อยลงไปเลย เมื่อเริ่มมีปัญหาทางการได้ยินไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันทีจะดีกว่า